SECI Model

SECI Model

SECI Model - เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยการขยายผลจากชนิดความรู้คือ ความรู้ที่อยู่ในสมองของคน(Tacit Knowledge) กับความรู้ที่ได้จากสื่อภายนอก(Explicit Knowledge)โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI- Knowledge Conversion Process” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

1.Socialization เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือบุคคล โดยไม่ผ่านการเขียน เรียกว่า “ การเสวนาธรรม” กลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง กลุ่มคนที่มาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้องกัน หรือเคยมีประวัติอดีตที่คล้ายคลึงกัน จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกันสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย 
                     
2. Externalization เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ในสมองของเขาออกมาสู่ภายนอกแก่ผู้อื่น
                   
3. Combination การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก ซึ่งแนวคิดจะมีความหลากหลายมากต้องสร้างความเข้าใจแลเชื่อมโยงความรู้อันหลากหลายให้ได้ และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับองค์กรของตน
                        
 
4.  Internalization การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป
                     
นำความรู้จาก Explicit มาปฏิบัติ
โดยความรู้นั้น ทาง KM พบว่ามีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์และไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำ ถ้อยความ หรือสูตรได้ และขึ้นอยู่กับความเชื่อ รวมทั้งทักษะเชิงวิชาการของบุคคลที่จะ กลั่นกรองความรู้ ความรู้ชนิดนี้สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เป็นเหตุและผลที่สามารถจะบรรยาย/ถอดความ ออกมาได้ในรูปของทฏษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือ และฐานข้อมูล (ทุกคนสามารถเข้าถึง/ซื้อได้)

ตัวอย่างการทำ SECI Model


รูปภาพ SECI Model

    จากโมเดล SECI ของ Nonaka และ Takeuchi ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมุ่งเน้นการสร้างความรู้ขององค์กรให้เติบโตขึ้น โดยการเชื่อมโยงการสร้างองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มคนในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ มีวิธีการ 4 ลักษณะ ได้แก่
     1  การแลกเปลี่ยน ปันความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ผ่านเครือข่าย หรือ Socialization โดยการแลกเปลี่ยน ปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หรือจากการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ฯลฯ
    2  การสร้างความรู้จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยการปันความรู้จากประสบการณ์ (Tacit Knowledge) มาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่ให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ต่อได้ โดยง่าย หรือที่เรียกว่า Externalization
    3  การเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากภายนอกแล้วบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นให้เข้ากับบริบทขององค์กร เป็นโมเดลและภาษาขององค์กร ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้
    4  เมื่อเรานำความรู้ที่เกิดขึ้นจากสามขั้นตอนข้างต้น มาลงมือสู่การปฏิบัติจะเกิดการซึมทราบเป็นประสบการณ์ เป็น Tacit Knowledge  หรือเรียกว่า Internalization
  
นำSECI Model มาประยุกต์ใช้อย่างไร

   1. ส่วนของ Socialization (S) ได้ประยุกต์โดยการสร้างระบบกระดานสนทนาเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับบุคคลทั่วไป
   2. ส่วนของ Externalization (E) เป็นส่วนของการรวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างระบบจัดเก็บงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุนัข และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาทำการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้
   3. ส่วนของ Combination(C) เป็นการสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการของสุนัขและการแสดงรายละเอียดของโรคที่วิเคราะห์ได้
   4. ส่วนของ Internalization (I) เป็นส่วนที่ใช้ในการวัดสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานโดยทั่วไป เช่น การวัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลดงานวิจัย, การวัดสถิติการเข้าชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องและการเก็บสถิติชื่อโรคที่ผู้ใช้เข้ามาทำการค้นหา เป็นต้น

วงจรความรู้แบบ SECI
เป็นวงจรความรู้ ที่นำเสนอโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge conversion) ระหว่าง Tacit knowledge และ Explicit knowledge ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น หมุนเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การสร้างความรู้จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ คือ Socialization, Externalization, Combination และ Internalization กล่าวคือ Socialization: การแบ่งปันและการสร้าง Tacit knowledge จากการติดต่อสื่อารระหว่างกันโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การพูดคุย นาย ก ได้เรียนรู้เทคนิคการเป็นวิทยากรจาก นาย ข ที่ประสบผลสำเร็จในการสอนจากการพูดคุยกัน นาย ก จะได้รับความรู้จากนาย ข มาเป็นความรู้ของตนเองเพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคนิคในการสอนของตนเอง Externalization: คือ การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มี (Tacit knowledge) และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit knowlegde) กล่าวคือ นาย ก หลังจากได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ แล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป Combination: เป็นการรวบรวมความรู้ประเภท Explicit knowledge ที่เรียนรู้มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit ใหม่ๆ เช่น กรณีที่นาย ก ศึกษาเพิ่มเติมถึงเทคนิคการสอนจากหลายๆ แห่ง แล้วสรุปและเผยแพร่เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตนเอง Internationalization: เป็นการแปลง Explicit knowledge มาเป็น Tacit knowledge เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติ กล่าวคือ คนอื่นๆ ศึกษาเทคนิคการสอนหรือการเป็นวิทยากรจากตำรา หรือหนังสือที่มีอยู่ อาจรวมถึงหนังสือที่นาย ก เขียน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเอง จนทำให้เกิดทักษะและความชำนาญจนกลายเป็น tacit knowledge ของตนเองในที่สุด และเมื่อเกิดความรู้แล้วก็เกิดการแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ต่อไปก็จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า Socialization ขึ้นเอง เป็นกระบวนการที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ

โมเดลปลาทู
เป็นโมเดลอย่างง่าย ที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทูตัวหนึ่งที่มี3ส่วน



1.ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ


2.วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

3.ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น